ความรู้ทั่วไปเรื่องการก่อสร้างบ้าน

Share |

 

 

ความรู้ทั่วไปเรื่องการก่อสร้างบ้าน 

• ระวังคนงานจะตัวแบนแต๋ ถ้าท่านออกแบบไม่ดี 

ที่กล่าวว่าคนงานจะตัวแบน ไม่ได้หมายถึงอันตรายจากการตกลงมาจากที่ สูง หรือโดนอะไรทับร่างกาย แต่เป็นเทคนิคเล็กๆสำหรับนักออกแบบที่ออกแบบให้มี ซอกมีหลืบแคบๆ จนบางครั้งผู้ก่อสร้างไม่มีที่ว่างเพียงพอที่จะทำงาน เช่น ฉาบปูน ตามซอกของผนังหรือซอกบันได การทำงานในช่องท่อ เป็นต้น ดังนั้น นักออกแบบ ที่มีจิตอันเป็นกุศล ต้องช่วยกันทำบุญด้วยว่า เส้นทุกเส้นที่เราจะเขียนแบบก่อสร้าง จะต้องเข้าใจหัวใจของคนทำงานด้วยน่ะครับ



• ไม่มีกล้องเซอร์เวย์ แต่อยากจะได้ ดิ่ง ฉาก ระดับ ทำยังไง 

กล้องเซอร์เวย์ก็คือ กล้องสำหรับช่างที่ต้องการวัดระยะ ระดับ ระนาบ เพื่อ การก่อสร้าง แต่ในบางครั้งการก่อสร้างที่มีขนาดเล็กๆ (อย่างบ้านอยู่อาศัย) ช่างก่อ สร้างก็ไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะซื้อกล้องราคาแพงนี้มาเป็นสมบัติหรือเป็น อุปกรณ์ในการก่อสร้าง บางท่านก็เลยคิดว่าการไม่มีกล้องเซอร์เวย์นี้ ทำให้บ้านของ ท่านคดไปเอียงมา ไม่เรียบร้อย และบางครั้งก็หวาดเสียวว่าจะเกิดอันตรายได้ แต่ เราก็ต้องไม่ลืมว่ากล้องเซอร์เวย์นี้เพิ่งเกิดขึ้นในโลก เรามีภูมิปัญญาท้องถิ่นมากมาย ที่จะใช้แทนกล้องเซอร์เวย์ ซึ่งท่านทั้งหลายสามารถทำได้ด้วยตนเอง การหาดิ่ง หรือการหาแนวที่ดิ่งตรงกัน เป็นเรื่องไม่ยากหากท่านมี "ลูกดิ่ง" ก็ใช้ลูกดิ่งผูกเชือกแล้วก็ดิ่งลงมา ก็เท่านั้นเอง หากต้องการความแม่นยำมากๆ ก็ใช้ ลูกดิ่งขนาดโต

หน่อยหนักหน่อย หากต้องการความแม่นยำมากๆๆๆๆเข้าไปอีก ก็หา ถังน้ำมันเล็กๆมา ๑ ถัง ในขณะที่กำลังจับดิ่งจากลูกดิ่งอยู่นั้น ก็ให้เอาลูกดิ่งอยู่ในถัง น้ำมัน จะทำให้ลูกดิ่งนั้น "นิ่ง" ขึ้น สามารถวัดแนวดิ่งได้ง่าย ลมพัดกรรโชกเล็กน้อย ก็ไม่เป็นไร .....แต่ประเภทเอาน๊อตเหล็กมาผูกเชือก แล้วก็ทำทิ้งดิ่งนั้น พึงพยายาม หลีกเลี่ยงนะครับ หาความแม่นยำได้ยากครับ การหาระดับ ว่าระดับตามส่วนของอาคารนั้นถูกต้องตรงกัน เช่น การวัด ระดับของท้องวงกบประตูหน้าต่างทุกบานให้เท่ากัน การวัดระดับของปลายจันทันทุก ตัวให้เสมอกัน เป็นต้น วิธีการง่ายๆก็คือ ใช้สายยางใส่น้ำ ไล่ฟองอากาศออกให้หมด เอาสายยางแต่ละด้านไปวัดจุดที่ต้องการเปรียบเทียบระดับ หากระดับน้ำเท่ากัน ก็ แสดงว่าระดับตรงนั้นเท่ากันครับ 

.....สิ่งสำคัญที่สุดที่ท่านห้ามลืมก็คือ สายยางนั้น ต้องเป็นสายยางใสๆนะครับ การหาฉาก หมายถึงการจะหามุมฉาก (ซึ่งเป็นมุมที่สำคัญที่สุดของการก่อ สร้าง) หากเป็นการหามุมฉากสำกรับพื้นที่เล็กๆ เราก็ใช้อุปกรณ์ "ไม้ฉาก" เป็น อุปกรณ์หลัก แต่หากเป็นพื้นที่ใหญ่ๆ เช่น การหามุมฉากของการวางผังของตัวบ้าน อุปกรณ์ไม้ฉากย่อมไม่เพียงพอที่จะหาความแม่นยำ เราก็ต้องหันกลับไปหาวิชาเรขา คณิตเบื้องต้นกัน ซึ่งเราจะพบว่า รูปสามเหลี่ยนที่มีด้านหนึ่งยาว = ๓ ด้านที่สอง ยาว = ๔ และด้านที่สามยาว = ๕ จะเป็นสามเหลี่ยมมุมฉากแน่ๆ ดังนั้น การจะหา ฉากของพื้นที่ใหญ่ๆ ก็จะสร้างสามเหลี่ยมขึ้นมา (ด้วยเชือกหรือด้วยการวัดแนวก็ ได้) โดยหามุมฉากเล็กๆจากไม้ฉากก่อน แล้วก็ตรวจสอบสามเหลี่ยมใหญ่ด้วยระบบ ๓-๔-๕ เราก็จะได้สามเหลี่ยมมุมฉาก และก็จะได้มุมฉากครับ .....ถึงตรงนี้ท่านผู้ อ่านอาจจะงง ลองทำเองดูซิครับ ไม่ยากอย่างที่คิดหรอกครับ


• เริ่มงานก่อสร้างด้วย B.M. และ Baseline จะได้ไม่ต้องทานยาแก้ปวดศีรษะภายหลัง 

กรุณาอย่าเพิ่งตกใจกับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ที่ดูจะเป็นเทคนิเคิลเทอม มากมายอย่างหัวกระทู้นะครับ เพราะเจ้าสองคำที่บอกแต่ต้นเป็นเรื่องสำคัญจริงๆ หากท่านจะสร้างบ้านให้ตัวเองสักหลังแล้วไม่อยากจะมีปัญหาภายหลัง คำว่า B.M. ย่อมาจากคำเต็มว่า Bench Mark ก็คือหมุดหลักของบ้านที่ แสดงตำแหน่งและระดับต่างๆที่ไว้อ้างอิง เช่น เสาต้นแรกจะต้องห่างจาก B.M. เท่า ไร บ่อน้ำจะต้องห่างและมีระดับแตกต่างจาก B.M. เท่าไร เป็นต้น ส่วนคำว่า Baseline ก็แปลว่าเส้นหรือแนวอ้างอิงของอาคาร ส่วนใหญ่เราก็ จะทำ Baseline มาจากเจ้า B.M. นั่นเอง แต่เส้น Baseline ใช้วัดอ้างอิงได้ง่ายกว่า B.M. เพราะเป็นเส้นยาวๆ ไม่ได้เป็นจุดเดียว ดังนั้น หากท่านเป็นนักก่อสร้าง อย่าลืมกำหนดจุด B.M. เอาไว้ตั้งแต่ก่อน การก่อสร้างนะครับ ส่วนท่านเจ้าของบ้านก็น่าจะหาเวลาถามท่านผู้ก่อสร้างว่า B.M. หรือจุดอ้างอิงเขาเอามาจากไหนและอยู่ที่ไหน เพื่อป้องกันเขาลืมครับ


• งอเหล็กเส้น ต้องใช้ความร้อนแค่ไหนจึงจะเหมาะสม 

การงอเหล็กเส้นเพื่องานโครงสร้างนั้น วิศวกรท่าน "ห้ามใช้ความร้อนเด็ด ขาด" ครับ อย่าไปฝืนลองเชียวนาครับ เหล็กจะหมดกำลัง เหล็กจะอ่อนแอ พอเอา เหล็กที่อ่อนแอไปก่อสร้าง โครงสร้างอาคารก็จะอ่อนแอ บ้านก็จะพังลงมา แล้วเราก็ ต้องเข้าไปอ่อนแอที่โรงพยาบาล (ในกรณีที่โชคดีที่ยังมีโอกาสไปโรงพยาบาลน่ะครับ)


• ก่ออิฐ "เต็มแผ่น" กับก่ออิฐ "ครึ่งแผ่น" คืออะไร

ก่ออิฐเต็มแผ่นก็คือการก่ออิฐที่วางแผ่นอิฐ (มอญ) ตามขวางของผนัง ทำให้ ผนังนั้นมีความหนามากกว่าปกติ เมื่อฉาบปูนแล้วผนังนั้นอาจจะหนาประมาณ ๑๕ - ๒๐ เซ็นติเมตร ส่วนก่ออิฐครึ่งแผ่นก็คือ ก่ออิฐที่วางแผ่นอิฐ (มอญ) ตามยาวของ ผนัง ทำให้ผนังนั้นมีความหนาเป็นปกติที่เราเห็นกันโดยทั่วไป คือ เมื่อฉาบปูนเสร็จ เรียบร้อยแล้ว จะหนาประมาณ ๑๐ เซ็นติเมตร


• สเตย์ นอกจากจะเป็นอุปกรณ์รัดพุงแล้ว เกี่ยวอะไรกับรั้วบ้านเราบ้าง

เพราะว่ารั้วบ้านเราที่อยู่ติดกับเขตทางหรือเขตที่ดินของสาธารณะ ตาม กฎหมาย ท่านห้าม ไม่ให้มีส่วนใดส่วนหนึ่ง ของโครงสร้าง รั้วบ้านเรา ยื่นเข้าไปในที่ดิน หลวง แต่รั้วบ้านเรานั้นอยู่แนบชิดสนิทติดกับที่ดินหลวงเลย จึงต้องก่อสร้างให้ฐาน ราก ของรั้ว เรา ต้องอยู่ใน เขตที่ดินเรา ลักษณะของ แรงตามแนวดิ่ง ก็เลยถ่ายน้ำหนัก ไปยังฐานรากที่เป็นลักษณะ "ฐานรากตีนเป็ด" ได้ลำบาก หากมี แรงด้านข้างเข้ามา ผลักเข้ามาดึง ความไม่สมดุลย์ของฐานรากรับไม่ไหว รั้วบ้านเราก็จะพังพับฐานลงมา ได้ ดังนั้น เขาจึงต้อง ทำค้ำยันไว้ สำหรับรับแรงดึง แรงดัน ไว้ที่รั้วนั้น เหมือนกับเรา ปลูกต้นไม้ใหญ่ๆก็ต้องมีการค้ำยันเอาไว้ เจ้าค้ำยันนี้ 

บางครั้ง ก็อยู่ใต้ดิน เรามองไม่ เห็น บางครั้งก็อยู่บนดินโผล่โชว์ออกมา หาดูได้ตามเขื่อนกั้นน้ำตามคูคลองทั่วไป ดังนั้น ถ้าช่างก่อสร้าง มาบอกท่านว่า เขาจะทำสเตย์ให้รั้วหรือบ้านของท่าน กรุณาอย่าเข้าใจผิด ว่าเขากำลังจะเอาอะไร มารัดบ้านของท่าน ไม่ให้อ้วน แต่เขากำลัง จะทำค้ำยันรับแรงผลักแรงดึงโครงสร้างบางส่วนของท่าน ให้มีความแข็งแรงขึ้นนั่น เองครับ
7. ใช้คอนกรีตให้เหลวๆ เข้าไว้ เทง่าย สบายใจกว่า ...ฮึ่ม !!


• ใช้คอนกรีตให้เหลวๆ เข้าไว้ เทง่าย สบายใจกว่า ...ฮึ่ม !!

คอนกรีตที่เหลวๆแสดงว่าเป็นคอนกรีตที่มีส่วนผสมของน้ำมาก เมื่อคอน กรีตเหลว ก็จะทำให้การเทคอนกรีตนั้นเทง่าย เพราะคอนกรีตสามารถไหลไปทั่วทุก ทิศทุกทางได้ ซึ่งช่างก่อสร้างที่มักง่ายมักสะดวกชอบจะใช้กันนัก เพราะช่างก่อสร้าง เหล่านั้นเขาลืมไปว่า คอนกรีตที่มีน้ำมากๆนั้นเวลาจี้หรือสั่นคอนกรีตเมื่อเทคอน กรีตนั้น จะทำให้น้ำและปูนลอยขึ้นมาข้างบน แยกตัวออกจากหินและทราย ทำให้ คอนกรีตไม่เป็นคอนกรีต แต่เป็นขนมสามชั้นแทน ยิ่งพอคอนกรีตนั้นแห้งตัวลง เจ้าน้ำที่ผสมคอนกรีตก็จะระเหยหรือเล็ดรอดหนีหาย (ไปพร้อมกับปูนหรือทราย) คอนกรีตที่เราหล่อเทแบบง่ายๆนั้นก็มีโพรงคอนกรีต ก็เลยเป็นคอนกรีตเสื่อมสภาพ หากท่านไม่ทุบทิ้งหรือแก้ไขตามหลักวิชาช่างที่ดี ......ท่านก็ต้องรีบขยันทำงานหาเงิน มาเยอะๆเสียแต่วันนี้ เพื่อเตรียมไว้สร้างบ้านหลังใหม่ เนื่องจากบ้านหลังนี้จะต้อง พังลงมาอย่างแน่นอน 


• ต้องเทคอนกรีตแบบแห้งๆ เหนียวๆ จึงจะดีใช่ไหมล่ะ

มัชฌิมาปฏิปทา การเดินทางสายกลางเป็นดีที่สุด การใช้คอนกรีตที่เหลว เกินไปก็ไม่ดี จะแห้งเกินไปก็ไม่สมควร ต้องทำตามที่วิศวกรโครงสร้างท่านกำหนด ไว้เป็นดีที่สุด เพราะคอนกรีตที่แห้งมากๆจะทำให้ท่านไม่สามารถนำคอนกรีตเข้าสู่ ทุกซอกทุกมุมของไม้แบบได้ อีกทั้งคอนกรีตของท่านก็จะแห้งตัวเร็วผิดปกติ หาก แห้งตัวเร็วผิดปกติ อาจจะทำให้เนื้อของคอนกรีตของท่านไม่ประสานเป็นเนื้อเดียว กันแนบแน่น เมื่อ คอนกรีต ไม่สามารถ ประสานกัน เป็นเนื้อเดียว โครงสร้าง ของท่านก็ เหมือน หลุดออกจากกัน เป็นชิ้นๆ ขาดแรงเกาะเกี่ยวตามที่คำนวณเอาไว้ เมื่อเป็นเช่น นี้ ผลลัพท์สุดท้ายจะเป็นอย่างไร .... ลองหลับตานั่งนิ่งๆ นึกภาพสักครู่สิครับ ท่านจะ เห็น ภาพผลลัพท์ของ บ้านท่าน ได้ชัดแจ๋ว ทีเดียวเชียว


• ติดพัดลมแขวนเพดานแล้วหล่นลงมาทุก ๒ เดือน ทำไมไม่ ๓ เดือน หรือ ๔ เดือน 

การที่เราแขวนอะไรหนักๆไว้ที่ฝ้าเพดาน เราต้องมั่นใจว่า มีโครงสร้างที่จะ สามารถรับน้ำหนักสิ่งที่เราจะแขวนนั้นได้ และ หากสิ่งที่เราจะ แขวนที่ฝ้าเพดานนั้น มี การ เคลื่อนไหว ได้อย่างเช่น พัดลม จะยิ่งต้อง ระวังมากขึ้นไปอีก ช่างหลาย ท่านมัก (ง่าย) จะ แขวนสิ่งหนักๆ เหล่านี้ ไว้กับ โครงฝ้า เพดาน ซึ่งถูก ออกแบบ ไว้เพียงการรับ น้ำหนัก ของ ฝ้าเพดาน เท่านั้น ไม่ได้เผื่อที่ จะรับน้ำหนักอย่างอื่น ดังนั้น เมื่อแขวนของ หนักๆ เช่น พัดลม โคมระย้า ฯลฯ ก็จะต้องหลุด ร่วงลงมา บางอย่างก็ร่วง ลงมาทันที แต่บางอย่าง ก็ใช้ เวลาสัก ระยะหนึ่ง จึงจะหล่นลงมา ดังนั้น การแขวน ของบนฝ้า เพดาน จึงเป็น อีกสิ่งหนึ่ง ที่เจ้าของบ้าน ต้อง สังเกตให้ดี 


• น้ำยากันซึมและน้ำยากันการแตกร้าว ใช้ผสมกันเลยได้หรือไม่ 

น้ำยากันซึม คือ น้ำยาเคมีชนิดหนึ่ง ที่เอาไว้ผสมคอนกรีตหรือปูนฉาบ เพื่อ ให้ปูนนั้นสามารถกันไม่ให้น้ำหรือความชื้นซึมผ่านได้ง่าย ส่วนน้ำยากันแตกร้าวนั้น มักจะใช้ผสมกับปูนฉาบเพื่อเป็นตัวยึดเกาะประสานพิเศษ ป้องกันไม่ให้ปูนฉาบนั้น มีรอยแตกร้าวได้ง่าย เมื่อน้ำยาทั้งสองอย่างเป็นน้ำยาเคมี ผู้ที่ตั้งอยู่บนความไม่ประมาท จึงเกรง ว่าหากเอาน้ำยาทั้งสองนั้นผสมไปในปูนพร้อมๆกัน อาจจะเกิดปฏิกิริยาเคมี ทำให้ เกิดเป็นสารเคมีตัวที่ ๓ ทำให้สารทั้งสองตัวแรกเสื่อมหรือหมดสภาพไป คราวนี้ก็ เลยทั้งรั่วซึมและทั้งแตกร้าว เท่าที่ตรวจสอบแล้ว ....น้ำยาทั้งสองที่มีขายในประเทศไทย สามารถผสมกัน ได้ครับ ไม่มีปัญหาอะไรในการใช้งาน ไม่มีปฏิกิริยาเคมีใดขัดแย้งกัน


• ช่วยด้วย....เอาหินมาตั้งแยะ เอาทรายมาตั้งเยอะ ผสมกันเหลือคอนกรีตแค่นิดเดียว 

อย่าตกใจเด็ดขาด ถ้าช่างก่อสร้างของท่านบอกให้ท่านเอาหินมา ๑ คิวบิค เมตร เอาทรายมาอีกครึ่งคิว เอาปูนซีเมนต์มา ๗ ถุง และเอาน้ำมาอีกร่วม ๒๐๐ ลิตร แล้วเขาก็ทำพิธีคลุกเคล้าปนกันอย่างดี ....แต่ท่านได้คอนกรีตมาเพียง ๑ คิวบิคเท่านั้น สรรพสิ่งทั้งหลายในโลกย่อมไม่สูญสลายไปเฉยๆที่ปราชญ์ท่านหนึ่งเคย พูดไว้เป็นเรื่องจริง เพราะแม้ท่านจะเอาส่วนผสมต่างๆเกือบ ๒ คิวมาปนกัน แต่ได้ คอนกรีตแค่คิวเดียว ก็เพราะว่าของแต่ละอย่างนั้นมีช่องอากาศ เช่น หินก็จะมีช่อง อากาศเต็มไปหมดระหว่างก้อนหินแต่ละก้อน ทรายก็มีช่องอากาศไม่น้อย ดังนั้น ของที่เราคิดว่าเอามาเต็ม ๑ คิว มวลหรือปริมาณที่เอามาอัดกันจนไม่มีช่องอากาศจะ ไม่ถึงคิวแน่นอน ปูนก็จะแทรกไปตามช่องทราย ทรายก็จะแทรกไปตามช่องหิน เหล่า นี้เป็นต้น .....ดังนั้น อย่าตกใจนะครับ ช่างเขาไม่ได้โกงหรือเล่นกลดอกครับ ปล. คอนกรีต ๑ คิวจะใช้ หิน ๐.๘๙ คิว + ทราย ๐.๔๕ คิว + ปูน ๖.๕ ถุง + น้ำ ๑๘๐ ลิตร


• ไม้หน้าสามที่ละครไทยชอบเอาไว้ฟาดศีรษะกันคือไม้อะไร

คำว่า "หน้าสาม" ไม่ใช่ชื่อของต้นไม้เหมือนกับ "สัก แดง มะค่า ฯลฯ" แต่ เป็นขนาดของไม้ที่ใช้ในการก่อสร้าง และแต่ก่อนเป็นที่นิยมกันมากที่สุด เพราะเป็น ขนาดไม้ที่ไม่เล็กไม่ใหญ่ ใช้งานได้สารพัดประโยชน์กำลังพอดี ทำนั่งร้านก็ได้ ใช้ตี ผังก่อสร้างก็ดี ทำแปหลังคา (กระเลื้องลอน) ได้ยอด ทำเคร่าฝาผนังก็เยี่ยม ทำเคร่า ฝ้าเพดานก็แจ๋ว ฯลฯ ไม้หน้าสามนี้ก็คือไม้ที่มีหน้าตัดขนาด ๑.๕" x ๓" (หนึ่งนิ้วครึ่งคูณสามนิ้ว) ....ดังนั้น หากท่านคิดจะทำร้ายใครหรือป้องกันตัวท่านเอง ถ้าอยากทำแบบพระ เอกละครไทย อย่าลืมท่านต้องเลือกขนาดไม้ให้ถูกต้องตามสมญานาม "ไม้หน้าสาม" ด้วยนะครับ


• เคยคิดบ้างไหมครับว่าทำไม ไม้ไทยจึงวัดหน้าไม้เป็นระบบอังกฤษ แต่ความยาวเป็นเมตริก

เช่น ไม้หน้า ๑.๕" x ๓" แต่ยาว เป็นเมตร หรือ ๒" x ๒" หรือ ๔" x ๔" ก็ยาว เป็นเมตร หมดเลย ผมไม่ทราบจริงๆ เพราะ ตั้งแต่เกิดมา เขาก็เรียกกันอย่างนี้ มาตลอด หรือ เป็นเสน่ห์ของ คนไทย เราที่สามารถ ผสมทุกอย่าง เข้าด้วยกันได้ก็ไม่ ทราบ 

....ใครทราบที่มาช่วยบอกด้วยครับ