ระบบกันน้ำไหลย้อน

Share |

 

จากปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมา เจ้าของบ้านหลายหลังอาจมีข้อสงสัยว่า เหตุใด แม้ว่าจะก่อกำแพงหรือกั้นกระสอบทราย และใช้วัสดุอุดรอยต่อเพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าสู่ตัวบ้านอย่างมั่นคงแข็ง แรงแล้ว ทำไมจึงยังเกิดเหตุน้ำท่วมภายในบ้าน จุดที่เจ้าของบ้านมักจะมองข้ามและทำให้เกิดความล้มเหลวในการป้องกันน้ำจาก ภายนอกเข้ามาในตัวบ้านคือ “ระบบท่อน้ำทิ้ง”



โดยปกติแล้วน้ำทิ้งจะไหลออกจากตัวอาคารผ่านท่อน้ำทิ้งลงสู่ท่อระบายน้ำ สาธารณะ เพราะระดับท่อน้ำทิ้งจะสูงกว่าระดับของท่อระบายน้ำสาธารณะ แต่เมื่อเกิดน้ำท่วมระดับน้ำในท่อระบายน้ำสาธารณะจะสูงกว่าระดับท่อน้ำทิ้ง ซึ่งจะทำให้น้ำจากภายนอกไหลย้อนกลับเข้ามาในตัวบ้าน ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในอนาคต จึงจำเป็นต้องมีการติดตั้งระบบป้องกันน้ำไหลย้อนกลับเข้าตัวบ้านผ่านทางท่อ น้ำทิ้ง

“ระบบป้องกันน้ำไหลย้อน” เป็นระบบที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับเข้ามาในตัวบ้าน ผ่านทางท่อน้ำทิ้ง (หรือท่อประปา) ซึ่งจะใช้ได้ในกรณีที่เราสามารถป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้ามาในตัวบ้านผ่านทาง อื่นๆ ได้* เช่น ประตูหรือรอยต่อระหว่างพื้นกับผนัง เป็นต้น

หลักการทำงานของระบบป้องกันน้ำไหลย้อนจึงมีหลักการเพื่อป้องกันน้ำท่วมจาก ภายนอกไหลย้อนกลับเข้ามาในบ้านผ่านระบบท่อน้ำทิ้งเมื่อระดับน้ำภายนอกสูง กว่าระดับพื้นภายในบ้าน และกักเก็บเก็บน้ำเสียที่ใช้ภายในบ้านไว้ที่บ่อพัก ก่อนสูบน้ำเสียออกจากบ่อพักน้ำเสียด้วยเครื่องสูบน้ำ


ขนาดของระบบป้องกันน้ำไหลย้อน จะมีขนาดแตกต่างกันไปตามขนาดและปริมาณการใช้น้ำในแต่ละบ้าน ตัวอย่างเช่น บ้านขนาด 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ ควรสร้างบ่อพักน้ำเสียให้มีขนาดไม่น้อยกว่า 50 x 50 x 50 ซม. (กว้าง x ยาว x ลึก) เพื่อเป็นจุดพักน้ำเสียที่ไหลออกมาจากตัวบ้าน โดยให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการติดตั้งเครื่องสูบน้ำหรือปั๊มไดโว่** ที่มีขนาดท่อสูบน้ำเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 นิ้ว เพื่อต่อท่อ PVC หรือสายยางเพื่อสูบออกไปภายนอกอาคารหรือนอกรั้ว

ทำการติดตั้งวาล์วน้ำ (ประตูน้ำหรือวาล์วปีกผีเสื้อขนาดประมาณ 6 นิ้ว) หรือใช้วิธีติดตั้งชุดท่อสั้นฝาปิดหน้าจาน ให้กับท่อน้ำทิ้งที่จะระบายน้ำจากบ่อพักน้ำเสียออกไปยังท่อระบายน้ำสาธารณะ เพื่อปิดในกรณีที่ระดับน้ำภายนอกสูงกว่าภายใน และเปิดเมื่อระดับน้ำภายในสูงกว่าภายนอก

หลังจากทำการติดตั้งระบบป้องกันน้ำไหลย้อนเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วควรหมั่นทำ การทดสอบระบบดังกล่าวด้วยการทดสอบปิดวาล์วน้ำเพื่อขังน้ำเสียไว้ในบ่อพัก เพื่อทดสอบการทำงานของเครื่องสูบน้ำหรือปั๊มไดโว่เป็นระยะๆ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมอยู่เสมอ

 



*ใช้ได้กับกรณีที่ระดับน้ำท่วมภายนอกสูงประมาณ 50 – 60 ซม.
**เครื่องสูบน้ำหรือปั๊มไดโว่มีความต้องการในการใช้ไฟฟ้า เพื่อความสะดวกจึงควรเดินสายไฟฟ้าเข้าไปยังภายในตัวบ้านเพื่อให้สะดวกต่อการ ปิด-เปิดระบบสูบน้ำ

 

Cr.trachang.co.th